โควิดสายพันธุ์ใหม่รับปีใหม่น่ากลัวกว่าเดิม
โคโรนาไวรัสหรือโรคโควิด-19 เป็นโรคที่อยู่กับประเทศต่าง ๆ มาเป็นระยะนาน พบการระบาดครั้งแรกในประเทศจีนตั้งแต่ปลายปี 2019 ที่เมืองอู่ฮั่น จนปัจจุบันมีการกลายพันธุ์หลายต่อหลายครั้ง คลัสเตอร์ใหม่เกิดขึ้นได้ในทุกประเทศและเกิดสายพันธุ์ใหม่เรื่อย ๆ จนมาถึงการกลายพันธุ์ใหม่ล่าสุด
ประเภทของไวรัสที่จัดอันดับโดย WHO
WHO เป็นองค์การกลางที่ดูแลเกี่ยวกับสุขภาพและการแพร่ระบาดของเชื้อโรคต่าง ๆ เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 WHO จึงเข้ามาทำหน้าที่ในการป้องกันการระบาดใหญ่และแจ้งเตือนหากพบการระบาดระลอกใหม่ หลายประเทศจะส่งข้อมูลที่มีแนวโน้มเกิดคลัสเตอร์ใหม่ เพื่อให้ WHO ประกาศเตือนประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ ซึ่ง WHO มีการจัดอันดับการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิดเอาไว้ ดังนี้
- Variant of Interest: VOI
การกลายพันธุ์ที่น่าจับตามองถือเป็นการกลายพันธุ์ที่กิดขึ้นในตัวไวรัส แต่ไม่ส่งผลกระทบในวงกว้าง อาจจะมีการแพร่ระบาดในช่วงหนึ่งและจะค่อย ๆ หายไป เนื่องจากร่างกายสามารถกำจัดไวรัสนั้นออกไปได้เอง เช่น สายพันธุ์มิว
- Variant of Concern: VOC
การกลายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วง เป็นการกลายพันธุ์ขนาดใหญ่กว่าแบบแรก มักส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง มีการแพร่ระบาดที่ยากต่อการควบคุม เช่น สายพันธุ์เบตา สายพันธุ์แกมมา สายพันธุ์เดลตา และสายพันธุ์โอไมครอน
การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสถือเป็นเรื่องปกติ เมื่อเจอปัจจัยแวดล้อมที่แปลกไปไวรัสจะมีการกลายพันธุ์เพื่อเอาตัวรอด การพบเชื้อไวรัสที่ดื้อยาขึ้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ก็ต้องมีวิธีการในการรับมือที่ถูกต้อง

ข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสโอไมครอนที่ยืนยันจาก WHO
WHO เป็นหน่วยงานที่น่าเชื่อถือในการจัดการกับโรคระบาด การที่ WHO ออกมาให้ข้อมูลจึงเป็นข้อมูลที่ผ่านการกรองมาแล้วในระดับหนึ่ง ข้อมูลที่น่าสนใจมีดังนี้
- พบการกลายพันธุ์กว่า 50 จุดในตัวไวรัส
การกลายพันธุ์ของไวรัสมักจะเป็นตำแหน่งคู่ ซึ่งการกลายพันธุ์ของไวรัสโอไมครอนก็ยังคงเป็นตำแหน่งคู่อยู่ แต่พบการกลายพันธุ์ที่มากถึง 50 จุด หรือ 25 คู่ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่เยอะมาก
- เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถสู้กับไวรัสได้
ผู้ป่วยรายแรกเชื่อว่าเป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องและไม่สามารถที่จะรับมือกับไวรัสได้ ทำให้ไวรัสมีโอกาสเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายและกลายพันธุ์เพื่อให้เกิดการลุกลามง่ายมากยิ่งขึ้น
- มีการระบาดเป็นวงกว้าง แพร่เชื้อง่าย
การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสครั้งนี้ก่อให้เกิดการแพร่กระจายที่ง่ายดายมากยิ่งขึ้น ผู้ติดเชื้อในพื้นที่จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงผู้ที่เดินทางกลับจากแถบประเทศแอฟริกาก็ส่งต่อเชื้อได้อย่างรวดเร็ว
- ผู้ป่วยมีอาการน้อยหรือแทบจะไม่มีเลย
การที่ผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยส่งผลต่อการคัดกรองเป็นอย่างมาก โดยผู้ป่วยจะเหมือนคนปกติทั่วไป หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยยากที่จะชี้ชัดว่าเป็นโควิดโอไมครอน
ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับจาก WHO จะช่วยในการเตรียมตัวของประชาคมโลกต่อไวรัสที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ ซึ่ง WHO กล่าวว่าตอนนี้ข้อมูลยังคงน้อย แต่ภายในระยะเวลา 1 – 1 สัปดาห์คาดว่าจะมีข้อมูลใหม่ ๆ ออกมาให้ทุกคนได้รู้และเตรียมพร้อมรับมือกันต่อไป ส่วนคนธรรมดาอย่างเรา ๆ ระหว่างรอ WHO ประกาศก็ทำได้แค่กักตัวกับซื้อประกันสุขภาพวนไป