รู้ทันคนโกง ลดจำนวนเหยื่อสังคม
ช่วงที่ผ่านมาข่าวการส่ง SMS หลอกให้กู้เงินมีอยู่มากมาย มีกลอุบายมากมายหลอกให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหลงกลจนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ส่วนมากเหยื่อมักจะเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีและไม่มีลูกหลานอยู่ใกล้ ๆ กลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้ยากที่จะตามจับตัว ใช้เวลานานกว่าจะหาตัวเจอ บางคนไม่ได้เงินคืนเลยก็มี การเฝ้าระวังจึงเป็นสิ่งสำคัญ
กลโกงของมิจฉาชีพผ่านสมาร์ทโฟน
มิจฉาชีพมักจะมีกลโกงที่คล้ายคลึงกัน แต่มีการพูดที่ถือเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนคล้อยตามและเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงจนตกเป็นเหยื่อหลายราย กลโกงที่มักพบของมิจฉาชีพผ่านทางโทรศัพท์มีดังนี้
- ทำสิ่งผิดกฏหมายจำเป็นต้องจ่ายเพื่อจบคดี
วิธีการที่มิจฉาชีพมักจะใช้จะเป็นการหลอกผู้เสียหายว่ากำลังทำสิ่งผิดกฎหมายอยู่ เช่น หลอกว่ามีพัสดุส่งมาและบรรจุสิ่งผิดกฎหมาย หรือหลอกว่าพัสดุจากต่างประเทศหนีภาษี หากเป็นผู้ที่รู้ไม่เท่าทันก็จะตกใจกลัว เพราะมีการหลอกเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ศุลกากรให้เหยื่อหลงเชื่อด้วย
- หลอกให้กู้เงิน โดยเสียค่าธรรมเนียมก่อน
วิธีการหลอกที่ได้รับความนิยมมาก ๆ คือการหลอกกู้เงิน โดยเหยื่อมักจะเป็นผู้ที่ต้องการใช้เงินด่วนและไม่ทันระวังตัว มิจฉาชีพจะให้เหยื่อโอนเงินค่าธรรมเนียมไปเรื่อย ๆ มูลค่าหลายหมื่นบาท ล่อหลอกให้เชื่อว่าหลังจากโอนแล้วจะได้เงินกู้หลักแสนในทันที พร้อมดอกเบี้ยต่ำ รู้ตัวอีกทีก้เสียเงินก้อนแล้วยังไม่ได้เงินกู้อีก
- คนใกล้ชิดเป็นหนี้ต้องใช้คืนแทน
การล่อหลอกโดยอ้างชื่อคนใกล้ชิด ส่วนมากมักจะมีการแฮกข้อมูลเบื้องต้นเอาไว้แล้ว จากนั้นจึงโทรหาคนใกล้ชิดเพื่อหลอกว่าญาติพี่น้องติดเงินกู้ก้อนโต หากไม่ชำระหนี้แทนจะโดนฟ้องร้องในฐานะผู้ค้ำประกัน เพราะผู้กู้แอบเอาชื่อไปใส่ไว้ ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นไปได้ยาก
- หว่านล้อมให้โอนเงินให้
กลวิธีการพูดที่ทำให้คนฟังใจอ่อน เช่น หลอกว่าที่บ้านมีปัญหา หลอกว่าจากรายได้ บางคนอาจจะใจอ่อนยอมโอนไปให้ง่าย ๆ โดยที่ไม่ได้เอะใจเลยว่าเป็นกลโกงของมิจฉาชีพ
มิจฉาชีพอยู่มาทุกยุคทุกสมัย มาพร้อมการปรับเปลี่ยนวิธีการไปเรื่อย ๆ คนจึงต้องรู้เท่าทันการทำงานของขบวนการย้อมแมวเหล่านี้และไม่ตกเป็นเหยื่อ

การรับมือกับ SMS หลอกลวงและเบอร์โทรก่อกวน
SMS หลอกลวงจัดเป็นเบอร์โทรก่อกวนเช่นกัน บางครั้งการก่อกวนก็มาในรูปแบบของมิจฉาชีพที่ต้องการหลอกเอาทรัพย์สิน สามารถจัดการเบื้องต้นได้ดังนี้
- ติดตั้งแอปพลิเคชัน WhoseCall
แอปพลิเคชัน WhoseCall เป็นแอปที่ให้คนสามารถเข้ามาใส่รายชื่อเบอร์ต่าง ๆ ได้ รวมถึงเบอร์โทรมิจฉาชีพด้วย การติดตั้งแอปพลิเคชันจึงช่วยคัดกรองเบอร์โทรรบกวนได้ในระดับหนึ่ง
- ไม่ทิ้งช่องทางติดต่อโดยไม่จำเป็น
บางครั้งเบอร์โทรศัพท์สามารถเผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ หากมีการลงทะเบียนโดยใช้เบอร์โทรศัพท์ ก่อนลงทะเบียนหรือให้เบอร์โทรควรตรวจสอบควมน่าเชื่อถือก่อน
- อย่าโอนเงินให้คนไม่รู้จักเด็ดขาด
การแก้ปัญหาการโอนเงินให้มิจฉาชีพที่ดีที่สุดคือการไม่โอนเงินให้คนอื่นโดยเด็ดขาด หากมีผู้หยิบยืมเงินควรมายืมด้วยตนเอง หรือหากโทรมาควรจะพูดคุยเอง หากเป็นการสนทนาออนไลน์ควรมั่นใจว่าคู่สนทนาเป็นคนที่รู้จักจริง ๆ ไม่ได้โดนแฮก
กลุ่มมิจฉาชีพมักจะทำงานเป็นขบวนการ สิ่งสำคัญที่ต้องมีคือสติ เพราะจะช่วยให้มองเห็นได้ว่าสิ่งที่ได้ฟังสิ่งใดจริงและสิ่งใดเท็จ นอกจากนั้นยังช่วยให้เห็นเจตนาของมิจฉาชีพชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วย พวกมิจฉาชีพเหล่านี้ก็เหมือนทางเข้า gclub ที่คอยหลอกล่อให้คนเข้าไปติดกับ การรู้เท่าทันเอาไว้จะช่วยป้องกันตนเองและทรัพย์สินได้